วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สถานที่ท่องเที่ยว



ภูกระดึง ตั้งอยู่ในจังหวัดเลย เนื่องจากมียอดเขาสูง 1,325 เมตร เหนีอระดับน้ำทะเล ทางเดินมีลักษณะลาดชันขึ้นทีละ เล็กทีละน้อย จนกระทั่งลาดชันมากก่อนถึงยอดเขา ทำให้นักท่องเที่ยวชอบที่จะมาพิชิตยอดเขาที่ภูกระดึง ภูกระดึง ถูกปกคลุมไปด้วยป่าดิบชื้นและป่าสนกว่า 60 ตารางกิโลเมตร มีดอกไม้ป่า กล้วยไม้ป่า ดอกเมเปิ้ล นอกจากนั้น ยังมีน้ำตกที่สวยงามอีก 2-3 แห่งอีกด้วย เช่น น้ำตกเพ็ญพบ จุดเด่นอีกอย่างของภูกระดึง คือ จุดชมวิวที่ผาหล่มสัก และ จุดชมพระอาทิตย์ขึ้นและตก

การเดินทาง

การเดินทางสู่ยอดภูกระดึง ด้วยระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร โดยจะแบ่งออกเป็น 5 ซำ (ชั้น) แต่ละชั้นจะมีความลาดชันมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงซำหลังแปร ซึ่งมีความชันมากที่สุด ดังนั้นนักท่องเที่ยว ควรใช้บริการลูกหาบสำหรับนำสัมภาระขึ้นสู่ยอด ติดตัวไว้เฉพาะที่ต้องการเพื่อใช้ระหว่างการเดิน เท่านั้น สามารถติดต่อใช้บริการลูกหาบได้ แถวที่ทำการ หรือบริเวณตีนดอย มีที่พักทั้งบ้านและเต้นท์ให้เช่า โดยติดต่อที่ทำการอุทยาน หรือใครจะนำเต้นท์ไปเองก็ได้
ส่วนป่าปิดบนยอดดอย จะเปิดทำการให้เข้าชมได้ระหว่างเดิอนตุลาคม ถึง พฤษภาคม สามารถติดต่อ ขอเข้าชมได้ที่
ทำการอุทยาน ซึ่งในป่าจะมีสัตว์ป่า เช่น กวาง และพืชพันธุ์ ที่สวยงามหายาก นักท่องเที่ยวที่จะพิชิตยอดภูกระดึง
ควรจะฟิตร่างกายให้พร้อม ก่อนเดินทาง

รถบัส: นั่งรถบัสประจำทางปรับอากาศหรือแบบธรรมดาสู่เลย ที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 (ถนนกำแพงเพชร) แล้วใช้รถบริการท้องถิ่นสู่ภูกระดึง
รถไฟ: ไม่มีบริการรถไฟสายตรงสู่จังหวัดเลย อาจจะนั่งรถไฟไปที่จังหวัดอุดรธานี หรือขอนแก่น ได้ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง แล้วนั่งรถบัสต่อสู่จังหวัดเลย
เครื่องบิน: ใช้บริการสายการบินในประเทศ สู่จังหวัดเลย แต่มีสัปดาห์ละ 1-2 เที่ยวเท่านั้น ได้ที่สนามบินสุวรรณภูมิ
เมื่อจะเดินทางไปในแต่ละที่ ควรตรวจสอบเส้นทาง สายเดินรถ รวมทั้งเวลาเปิด-ปิด ในแต่ละ สถานที่ด้วย










ข้อมูลกำนันผู้ใหญ่บ้าน

กำนัน 83 คน
ผู้ใหญ่บ้าน 838 คน
รวมทั้งสิ้น 921 คน

ประชากร

จำนวนประชากร 614,695 คน เป็นชาย 311,167 คน เป็นหญิง 303,528 คน

ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดเลย ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบสูง โคราช ที่เรียกว่า “แอ่งสกลนคร” ภูมิประเทศส่วนใหญ่ เป็นเทือกเขาในแนวทิศเหนือใต้โดยมีที่ราบลุ่มระหว่างหุบเขา ขนาดไม่ใหญ่มากนัก สลับอยู่แนวเทือกเขาเหล่านั้น หินที่พบในบริเวณนี้ส่วนใหญ่หินมีอายุมาก เช่น
หินแปรยุคไซลูเรียน-ดีโวเนียน อายุ 438-378 ล้านปี
หินปูนยุคดีโอเนียนตอนกลาง อายุ 385 ล้านปี
หินตะกอนและหินแปรชั้นต่ำ อายุ 360-280 ล้านปี
หินยุคคาร์บอนิเฟอรัส
หินปูนและหินดินดานยุคเพอร์เมียน อายุ 286-248 ล้านปี
หินตะกอนยุคไตรแอสซิก อายุ 220 ล้านปี
และพบหินยุคโคราช บริเวณเขายอดราบอยู่บนหินเหล่านี้ เช่น ภูผาจิต ภูกระดึง ภูหลวง ภูหอ ภูขัด ภูเมี่ยง (อำเภอนาแห้ว) เนื่องจากชั้นหินเกือบทั้งหมดวางอยู่แนวเหนือใต้ จึงควบคุมให้เกิดที่ราบลุ่มระหว่างหุบเขาและทิศทางแนวเหนือใต้ด้วย แม่น้ำเลยจึงไหลจากใต้ขื้นเหนือ
สภาพธรณีวิทยา

หมวดหินที่พบในจังหวัดเลย มีรายละเอียดสังเขป ดังนี้
1. หินห้วยหินลาด (Huai Hinlat Formation) พบบริเวณหินลาด กม.ที่ 109.5 บนถนนสายขอนแก่น-เลย ทิศใต้ผานกเค้า อำเภอภูกระดึง ประกอบด้วยหินกรวดมนเนื้อปูน (Limestion Congomerate) เป็นหินฐานและมีหินดินดาน หินทรายแป้งและหินสีแดง สลับกับหินดินดานและหินปูนสีเทา มีอายุประมาณยุคไทรแอสซิกตอนกลาง (Upper Triassic Period)
2. หมวดหินภูกระดึง (Phu Kradung Foration) หินแม่แบบที่เชิงภูเขา ของภูกระดึง ตำบลศรีบาน อำเภอภูกระดึง ประกอบด้วยหินจำนวนพวกหินทราย เนื้อละเอียด และหินดินดานง่ายข่อการผุพังจึงทำให้สภาพภูมิประเทศที่ประกอบด้วยหินหน่วยนี้เป็นที่ราบ และมักจะเป็นฐานของสันเขาที่เกิดจากหน่วยหินพระวิหาร มีความหนาประมาณ 800-1,100 เมตร มีอายุประมาณยุคจูลาสิคตอนบน (Over Jurassic Period)

สภาพทั่วไป


1.ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดเลย ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ห่างจากกรุงเทพมหานครตามถนนสายกรุงเทพฯ - ชัยภูมิ – เลย ประมาณ 520 กม. มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 11,424,612 ตารางกิโลเมตร หรือ 7,140,382 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 6.77 ของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ









วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ประวัติจังหวัดเลย


ดินแดนซึ่งเป็นที่ก่อตั้งของจังหวัดเลย มีหลักฐานและประวัติความเป็นมาว่าก่อตั้งโดยชนเผ่าไทยที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่ก่อตั้งอาณาจักรโยนก โดยพ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้อพยพผู้คนจากอาณาจักรโยนกที่ล่มสลายแล้ว ผ่านดินแดนล้านช้าง ข้ามลำน้ำเหืองขึ้นไปทางฝั่งขวาของลำน้ำหมันจนถึงบริเวณที่ราบ พ่อขุนผาเมืองได้ตั้งบ้านด่านขวา ส่วนพ่อขุนบางกลางหาวได้แบ่งไพร่พลข้ามลำน้ำหมันไปทางฝั่งซ้าย สร้างบ้านด่านซ้าย จากนั้นได้อพยพขึ้นไปตามลำน้ำและได้สร้างบ้านหนองคูขึ้น พร้อมกับนำชื่อหมู่บ้านด่านซ้ายมาขนานนามหมู่บ้านหนองคูใหม่เป็นเมืองด่านซ้าย และอพยพไปอยู่ที่บางยางในที่สุด ต่อมามีชาวโยนกกลุ่มหนึ่งได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนระหว่างชายแดนตอนใต้ของอาณาเขตล้านช้างอยู่ระยะหนึ่งก่อนที่จะอพยพหนีภัยสงครามข้ามลำน้ำเหืองมาตั้งเมืองเซไลขึ้น จากหลักฐานสมุดข่อยที่มีการค้นพบเมืองเซไลอยู่ด้วยความสงบร่มเย็นมาจนกระทั่งถึงสมัยเจ้าเมืองคนที่ 5 เกิดทุพภิกขภัยขึ้นจึงได้พาผู้คนอพยพไปตามลำแม่น้ำเซไล และได้ตั้งบ้านเรือนขึ้น ขนานนามว่า "ห้วยหมาน" ในปี 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพิจารณาเห็นว่าหมู่บ้านแฮ่ ซึ่งตั้งอยู่ริมห้วยน้ำหมานและอยู่ใกล้กับแม่น้ำเลย มีผู้คนเพิ่มมากขึ้น สมควรจะได้ตั้งเป็นเมืองเพื่อประโยชน์ในการปกครองอย่างใกล้ชิด จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็นเมือง เรียกชื่อตามนามของแม่น้ำเลยว่า "เมืองเลย" ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองพื้นที่ ร.ศ.116 แบ่งการปกครองเมืองเลยออกเป็น 4 อำเภอ อำเภอที่ตั้งเมืองคือ อำเภอกุดป่อง ในปี พ.ศ.2442-2449 ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเลยเป็นบริเวณลำน้ำเหือง และในปี 2450 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2450 ยกเลิกบริเวณลำน้ำเหืองให้คงเหลือไว้เฉพาะเมืองเลย โดยให้เปลี่ยนชื่ออำเภอกุดป่อง เป็น อำเภอเมืองเลย จนถึงปัจจุบัน